กฎระเบียบและข้อบังคับ สำหรับรถบรรทุกในเมืองไทยจะทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎข้อบังคับต่างๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับรถบรรทุก เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก่อนที่ออกรถบรรทุกมาใช้ในกิจการ ทั้งนี้ หน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรถบรรทุกในเมืองไทยได้แก่ กรมการขนส่งทางบกกรมทางหลวง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ลักษณะที่ 2 รถตู้บรรทุก
รถตู้บรรทุก หมายถึงรถที่มีส่วนบรรทุกเป็นลักษณะแบบตู้ทึบโดยวัสดุที่ใช้ทำนั้นอาจเป็นอลูมิเนียม ไม้ ผ้าใบ หรือวัสดุอื่นๆก็ได้ ซึ่งจะต้องมีหลังคาแบบถาวร รวมถึงตู้ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้กับสินค้าด้วย
ลักษณะที่ 4 รถบรรทุกวัสดุอันตราย
รถบรรทุกวัสดุอันตราย หมายถึงรถที่ใช้ในงานบรรทุกวัตถุอันตราย เช่น ก๊าซ น้ำมันเชื้อเพลิง ยางมะตอย สารเคมี วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เป็นต้น รถลักษณะนี้จะมีการติดสติ๊กเกอร์แสดงประเภท และความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายนั้นไว้ที่ด้านข้างตัวถังบรรทุก หรือแม้กระทั่งรถกระบะที่บรรทุกถังแก๊สหุงต้มก็ถือว่าเป็นรถบรรทุกวัตถุอันตรายด้วยเช่นกัน
ลักษณะที่ 6 รถพ่วง
รถพ่วง หมายถึง รถบรรทุกที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเองจำเป็นต้องใช้รถอื่นมาลากจูงเพื่อการขนส่งสินค้า น้ำหนักของรถและน้ำหนักสิ่งของที่บรรทุกนั้นจะถูกกระจายลงบนเพลาล้อและยางของรถพ่วงทั้งหมดโดยจำนวนเพลาที่เพิ่มขึ้นนั้นจะส่งผลต่อความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้นด้วย
ลักษณะที่ 7 รถกึ่งพ่วง
รถกึ่งพ่วง หรือรถเทรลเลอร์นั้น หมายถึงรถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตนเองจำเป็นต้องใช้รถอื่นมาลากจูงน้ำหนักของรถและน้ำหนักสิ่งของที่บรรทุกนั้นจะถูกกระจายลงบนจานลากพ่วงของรถลากจูง และเพลาล้อของรถเทรลเลอร์
ลักษณะที่ 8 รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาวก็คือรถกึ่งพ่วงที่สามารถปรับความยาวได้ตามขนาดความยาวของสินค้าที่บรรทุก ตัวอย่างเช่นรถที่บรรทุกเสาเข็ม
สรุปลักษณะของรถที่ใช้ขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ หรือที่เราเรียกกันว่ารถบรรทุกนั้นมีทั้งหมด 9 ลักษณะ และเพื่อให้ทุกท่านได้รับความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น อาจแบ่งรถบรรทุกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ รถเดี่ยว ได้แก่รถลักษณะที่ 1 2 3 4 5 และ 9 กลุ่มที่ 2 คือรถพ่วง ซึ่งได้แก่รถลักษณะที่ 6 และกลุ่มที่ 3 คือรถกึ่งพ่วงได้แก่รถลักษณะที่ 7 รถกึ่งพ่วง และลักษณะที่ 8 รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
การติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงและแผ่นสะท้อนแสง
ข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องข้อง คือเรื่องการติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงและแผ่นสะท้อนแสงที่ทำให้ผู้อื่นสามารถมองเห็นสัดส่วนของรถบรรทุก และรถโดยสารได้ในเวลากลางคืนเพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้รถบรรทุกที่จดทะเบียนใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ต้องติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสง และแผ่นสะท้อนแสงโดยข้อกำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์สะท้อนแสงที่สำคัญ มีดังนี้
- อุปกรณ์สะท้อนแสงที่ติดตั้งด้านท้ายรถจะต้องเป็นสีแดง เฉพาะหางพ่วงและหางกึ่งพ่วงจะต้องติดตั้งเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
- อุปกรณ์สะท้อนแสงที่ติดตั้งด้านข้างรถจะต้องเป็นสีเหลืองสำหรับรถบรรทุกทุกลักษณะจะต้องติดตั้งเป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้
ข้อกำหนดเกี่ยวกับแผ่นสะท้อนแสงที่สำคัญมีดังนี้
บังคับใช้กับรถบรรทุก 2 เพลา 4 ล้อ ยาง 6 เส้นขึ้นไป ยกเว้นรถลากจูงโดยมีข้อกำหนดสำหรับการติดตั้งคือ
- แผ่นสะท้อนแสงที่ติดตั้งด้านท้ายเป็นสีเหลืองหรือสีแดงก็ได้ สำหรับรถบรรทุกที่มีความกว้างเกิน 2 เมตร 10 เซนติเมตรขึ้นไป
- แผ่นสะท้อนแสงที่ติดตั้งด้านข้างเป็นสีขาวหรือสีเหลืองก็ได้สำหรับรถบรรทุกที่มีความยาวรวมเกิน 6 เมตรขึ้นไป
ข้อบังคับเรื่องการติดตั้งระบบ GPS บนรถบรรทุก
กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศและบังคับใช้ GPS สำหรับรถหัวลาก 10 ล้อรถหัวลาก 6 ล้อรถบรรทุก 10 ล้อและรถบรรทุก 12 ล้อทุกชนิด ที่ใช้งานเป็นรถขนส่งรับจ้างไม่ประจำทางป้ายทะเบียนสีเหลือง และรถขนส่งส่วนบุคคลป้ายทะเบียนสีขาว โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติม: GPS ISUZU Teletec)
- กรณีรถเก่าที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 25 มกราคม 2559 หากไม่เคยติดตั้ง GPS หรือติดตั้งแล้ว แต่ยังไม่เชื่อมต่อข้อมูลรวมถึงติดตั้งไม่ถูกต้องตามประกาศของกรมการขนส่งทางบกจำเป็นต้องติดตั้ง GPS พร้อมเครื่องรูดบัตรที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้ถูกต้องให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพต่อภาษีในปี 2562
- กรณีรถใหม่ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นไปจะต้องดำเนินการติดตั้ง GPS พร้อมเครื่องรูดบัตรที่เป็นไปตามประกาศและสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้ถูกต้องก่อนการตรวจสภาพเพื่อขอจดทะเบียนรถ
สรุปคือรถทุกประเภทที่ถูกบังคับนั้นจะต้องติดตั้ง GPS พร้อมเครื่องรูดบัตรที่ถูกต้องตามประกาศให้แล้วเสร็จภายในปี 2562
เวลาห้ามรถบรรทุกวิ่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ข้อกำหนดเวลาห้ามรถบรรทุกวิ่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลช่วงเวลาที่ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกวิ่งบนพื้นราบ มีดังนี้
- รถบรรทุกวัตถุอันตรายตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง ห้ามวิ่ง 6 โมงเช้าถึง 4 ทุ่มทุกวันเว้นวันอาทิตย์
- รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่ง 6 โมงเช้าถึง 9:00 น และ 16:00 น – 20:00 น เว้นวันหยุดราชการ
- รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่ง 6:00 น ถึง 10:00 น และ 15:00 น – 21:00 น เว้นวันหยุดราชการ
- รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว ห้ามวิ่ง 6 โมงเช้าถึง 21:00 น ทุกวัน
ช่วงเวลาที่ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกวิ่งบนทางด่วนมีดังนี้
- รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่ง 6:00 น ถึง 9:00 น และ 16:00 น – 20:00 น
- รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่ง 6:00 น ถึง 9:00 น และ 15:00 น – 21:00 น
- รถบรรทุกวัตถุอันตราย ห้ามวิ่ง 6:00 น. ถึง 10:00 น และ 15:00 น – 22:00 น
สำหรับรถกระบะบรรทุกแบบรย.3 ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2.2 ตันรวมถึงรถที่ได้รับการผ่อนผันจากเจ้าพนักงานจราจรสามารถวิ่งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ไม่ติดเวลา
แผ่นป้ายทะเบียนสำหรับรถบรรทุก
แผ่นป้ายทะเบียนสำหรับรถบรรทุกแบ่งออกเป็น 2 สีหลักๆ ได้แก่ แผ่นป้ายสีเหลืองสำหรับรถบรรทุกที่ใช้วิ่งรับจ้างขนส่งและแผ่นป้ายสีขาวสำหรับรถบรรทุกส่วนบุคคลใช้วิ่งในธุรกิจของตนเอง
ตัวอักษรและตัวเลขทั้งหมดถูกกำหนดด้วยสีดำมีหมายเลขนำหน้า 2 ตำแหน่งที่สามารถบ่งบอกประเภทของรถได้ดังนี้
- สำหรับแผ่นป้ายสีเหลืองขึ้นต้นด้วยเลข 10-19 หมายถึงรถโดยสารประจำทางทุกชนิดเลข
- 20-29 หมายถึงรถขนาดเล็กประจำทางต่างจังหวัดที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกหรือ GVW ไม่เกิน 4 ตัน
- หมายเลข 30 ถึง 39 หมายถึงรถโดยสารไม่ประจำทางหมายเลข
- 60-69 หมายถึงรถบรรทุกไม่ประจำทาง
- หมายเลข 70-79 หมายถึงรถบรรทุกรับจ้างไม่ประจำทาง
- ส่วนแผ่นป้ายสีขาวที่ขึ้นต้นด้วยเลข 40-59 หมายถึงรถโดยสารส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกหรือ GVW 2,200 ขึ้นไปหรือใช้ขนส่งผู้โดยสารเกิน 12 ค
- หมายเลข 80-99 หมายถึงรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกหรือ GVW 2.2 ตัน ขึ้นไป
ใบอนุญาตขับรถบรรทุกตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพุทธศักราช 2522 มี 2 ประเภทคือ
1) ประเภทบุคคลหรือเรียกสั้นๆว่า บ. สำหรับขับรถบรรทุกส่วนบุคคล แผ่นป้ายสีขาว โดยไม่ได้นำไปรับจ้าง
2) ประเภททุกประเภทหรือเรียกสั้นๆว่า ท. สำหรับใช้ขับรถบรรทุกรับจ้าง และรถบรรทุกส่วนบุคคลทั้งแผ่นป้ายสีขาวและสีเหลือง
ใบอนุญาตทั้ง 2 ประเภทนี้ยังถูกแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
- ชนิดที่ 1 สำหรับขับรถบรรทุกที่มี GVW ไม่เกิน 3.5 ตันหรือผู้โดยสารไม่เกิน 20 ค
- ชนิดที่ 2 สำหรับขับรถบรรทุกที่มี GVW เกิน 3.5 ตันหรือผู้โดยสารเกิน 20 คนสามารถใช้แทนชนิดที่ 1 ได้
- ชนิดที่ 3 สำหรับขับรถลากจูงหรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งของได้สามารถใช้แทนชนิดที่ 2 และ 1 ได้
- ชนิดที่ 4 สำหรับขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายสามารถใช้แทนได้ทุกชนิด
โดยผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่ประเภทบ.1 ต้องมีอายุเกิน 18 ปี บ.2 และ บ.3 ต้องมีอายุเกิน 20 ปี และ บ.4 ต้องมีอายุเกิน 25 ปี ส่วน ท.1 และ ท.2 ต้องมีอายุเกิน 22 ปี ส่วน ท.3 และ ท.4 ต้องมีอายุเกิน 25 ปี ทั้งนี้ผู้ขับขี่รถบรรทุกต้องขับขี่และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ
จะเห็นได้ว่ากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรถบรรทุกมีมากมายหลายอย่าง ฉะนั้นก็ที่ทุกท่านจะออกรถบรรทุกมาใช้ในกิจการจะต้องศึกษาข้อมูลให้ดี ให้ละเอียด เพื่อให้เข้าได้ได้อย่างถูกต้อง ไม่มีการละเมิดกฎจากการไม่รู้ เพราะเมื่อครั้งที่เราทำผิดกฎไปแล้ว ก็จะเป็นเรื่องยุ่งยากลำบาก ที่เราจะต้องไปแก้ไขอีก ทำให้ระบบงานหรือแผนงานที่เราต้องใจจะออกรถบรรทุก อาจมีแผนงานที่ล่าช้าลงกว่าเดิม ทำให้ธุรกิจอาจชะงักได้
ช่องทางติดต่อ สอบถาม และขอใบเสนอราคา